อันตรายจากแสงอาทิตย์ ....

ในแสงแดดประกอบด้วยรังสีที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีชื่อเรียกว่ารังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี  ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ว่าแสงยูวี แม้เพียงเล็กน้อยในยามแดดจัด ก็สามารถทำให้เซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนังเสื่อมสภาพได้ อนุมูลอิสระเป็นผลผลิตจากการที่ร่างกายต่อสู้กับสิ่งที่มาระคายเคือง เช่น แสงแดด ฝุ่น ควัน และมลพิษต่างๆ เป็นเวลานาน ซึ่งหากหลงเหลืออยู่ในผิวหนัง สารอนุมูลอิสระนี้ก็อาจทำลายเซลล์รอบๆ ตัว ทำให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งโรคมะเร็งผิวหนัง ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งผิวหนังจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากผิวหนังถูกแสงแดดแผดเผาเป็นเวลานานนับปี ….

รังสีต่างๆที่มาพร้อมกับแสงอาทิตย์

  • รังสียูวีเอ (UVA)

    คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีคลื่นยาวกว่ารังสี UVB และ UVC (UVA มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนมิเตอร์) ที่สามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ได้ แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับผิวหนังเมื่อสัมผัสกับรังสี UVA จะเห็นได้ไม่ชัดเจน และไม่รู้สึกเจ็บเมื่อได้รับรังสีนี้ แต่ผลในระยะยาวเชื่อกันว่าหากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ซึ่งจะทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย สีผิวคล้ำเข้ม ขาดความสดใส

  • รังสียูวีบี (UVB)

    คือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นรองลงมา (ความยาวคลื่น 290-300 นาโนมิเตอร์) รังสี UVB จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศบางส่วน และลงมาถึงผิวโลกประมาณร้อยละ 0.1 ของแสงทั้งหมด รังสี UVB แม้จะไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกได้เท่ากับรังสี UVA แต่ก็มีผลทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียม

  • รังสียูวีซี (UVC)

    เป็นรังสีที่มีคลื่นสั้นที่สุด ในอดีตรังสี UVC จะถูกกรองไว้ได้ทั้งหมดโดยชั้นโอโซน จึงไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงมาได้ แต่ปัจจุบันนี้พบว่ารังสี UVC ก็สามารถทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากมลพิษที่มนุษย์ก่อขึ้น จนไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

  • รังสียูวีเอ (UVA)

    คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีคลื่นยาวกว่ารังสี UVB และ UVC (UVA มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนมิเตอร์) ที่สามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ได้ แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นกับผิวหนังเมื่อสัมผัสกับรังสี UVA จะเห็นได้ไม่ชัดเจน และไม่รู้สึกเจ็บเมื่อได้รับรังสีนี้ แต่ผลในระยะยาวเชื่อกันว่าหากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ซึ่งจะทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย สีผิวคล้ำเข้ม ขาดความสดใส

  • รังสียูวีบี (UVB)

    คือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นรองลงมา (ความยาวคลื่น 290-300 นาโนมิเตอร์) รังสี UVB จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศบางส่วน และลงมาถึงผิวโลกประมาณร้อยละ 0.1 ของแสงทั้งหมด รังสี UVB แม้จะไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึกได้เท่ากับรังสี UVA แต่ก็มีผลทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียม

  • รังสียูวีซี (UVC)

    เป็นรังสีที่มีคลื่นสั้นที่สุด ในอดีตรังสี UVC จะถูกกรองไว้ได้ทั้งหมดโดยชั้นโอโซน จึงไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงมาได้ แต่ปัจจุบันนี้พบว่ารังสี UVC ก็สามารถทะลุชั้นโอโซนมายังพื้นโลกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากมลพิษที่มนุษย์ก่อขึ้น จนไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลง

ภัยแฝงจากแสงแดดที่คนไม่ค่อยรู้ .....

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าวันที่มีเมฆหมอก วันที่ท้องฟ้าขมุกขมัว เวลาฝนตกหรือหน้าหนาว ไม่น่าจะเกิดอันตรายจากแสงแดด แต่ความจริงแล้ว แม้วันที่มีเมฆหมอก ไม่มีร่มเงาแดด แต่หากยังมีแสงสว่างพอที่จะอ่านหนังสือได้ แสงยูวีก็ยังสามารถส่องผ่านมาได้ แม้กระทั่งวันที่มีลมพัดแรง ซึ่งผิวหนังอาจได้รับผลเสียจากแสงแดด และเกิดผิวไหม้ได้มากกว่าปกติ เพราะลมที่พัดแรงจะทำให้รู้สึกเย็นสบาย ทำให้หลายคนอาจเผลออยู่กลางแจ้งหรือกลางแดดนานโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ เวลาเดินทางไปต่างจังหวัดที่ต้องใช้ เวลานานหลายชั่วโมง บางคนชอบเปิดหน้าต่างรถให้ลมพัดโกรกตลอดเวลา ผลคือ หน้าจะดำคล้ำลงทันทีเมื่อสิ้นสุดการเดินทาง คนโบราณฉลาด และเก่งมากที่สามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ แล้วนำมาพูดเปรียบเทียบเป็นสำนวนประชดประชันว่า “แก่แดด แก่ลม” กับเด็กผู้หญิงที่อยากจะเป็นสาวทั้งที่อายุน้อยนิด แล้วรู้ไหมว่าการอยู่ในที่สูง เช่น บนภูเขา ก็ทำให้ผิวมีโอกาสได้รับอันตรายจากแสงแดดมากกว่าปกติด้วย เพราะพื้นที่สูงจะมีชั้นบรรยากาศ ที่ดูดซับรังสีที่เป็นอันตรายจากแสงแดดน้อยกว่าที่ระดับน้ำทะเล

วิธีป้องกันผิวจากภัยแดด .....

  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะระหว่างเวลา 10.00-16.00 น. เพราะเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด ทั้งนี้เพราะรังสียูวีกว่าร้อยละ 80 จะส่องลงมาในเวลาดังกล่าว
  • พยายามหลบแสงแดดให้มากที่สุด หากต้องใช้รถยนต์ควรเลือกติดฟิล์มคุณภาพอย่าง “D-KOOL”
  • สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม เมื่อต้องเจอแสงแดด หรือทำกิจกรรมต่างๆ กลางแจ้ง
  • สวมเสื้อผ้าให้ปิดผิวมิดชิดซึ่งโดยทั่วไปเสื้อผ้าที่ทอเนื้อแน่นสีเข้ม จะกันแดดได้มากกว่าเสื้อผ้าเนื้อบางๆ
  • ทาครีมกันแดดในบริเวณผิวหนังที่ไม่สามารถป้องกันด้วยเสื้อผ้า เช่น บริเวณใบหน้าหรือหลังมือ แต่ครีมกันแดดป้องกันได้เพียงแสงยูวีเท่านั้น